Happy Me Clinic

โรคแพนิคคืออะไร? เจาะลึกอาการ และแนวทางรับมือที่ถูกต้อง

โรคแพนิคคืออะไร? เรียนรู้สาเหตุ สัญญาณเตือน ผลกระทบ และวิธีรับมือด้วยคำแนะนำของนักจิตวิทยา เพื่อดูแลสุขภาพใจได้อย่างสมดุล

ทำความเข้าใจการบำบัดด้วย Psychotherapy สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการบำบัดจิตใจ Psychotherapy ความแตกต่างจากการให้คำปรึกษาทั่วไป พร้อมวิธีเลือกนักจิตบำบัดหรือนักจิตวิทยาที่เหมาะสม

การบำบัด EMDR คืออะไร วิธีนี้เหมาะสำหรับใคร

EMDR เป็นการบำบัดทางจิตวิทยาที่ช่วยลดผลกระทบจากประสบการณ์เลวร้าย ช่วยให้สมองประมวลผลความทรงจำด้านลบใหม่อย่างเป็นธรรมชาติ ใครมีปัญหาแบบนี้ ห้ามพลาดข้อมูลนี้

โรคซึมเศร้าคืออะไร? เช็กอาการและวิธีรักษาที่ถูกต้อง

โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่อาการเศร้าชั่วคราว แต่เป็นภาวะทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ควรรู้ทันอาการผ่านการตรวจซึมเศร้าด้วยแบบทดสอบโรคซึมเศร้า เพื่อรักษาอย่างเหมาะสม

Empathy คืออะไร? ทำไมความเข้าใจผู้อื่นจึงสำคัญในชีวิตประจำวัน

Empathy คือ ความสามารถในการเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งช่วยให้การสื่อสารและความสัมพันธ์เป็นไปอย่างราบรื่น คุณสามารถฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยข้อมูลนี้

Mental Health | ทำไมสุขภาพจิตถึงสำคัญ ต่อชีวิตที่สมดุล

สุขภาพจิตที่ดีช่วยให้ชีวิตสมดุลและมีความสุข เรียนรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตใจ พร้อมแนวทางดูแลตัวเองจากนักจิตบำบัดจากคลินิกสุขภาพจิต HAPPY ME CLINIC

อาการและสาเหตุของ PTSD คืออะไร ปัญหาสุขภาพจิตที่คุณควรระวัง

PTSD คืออะไร เช็กอาการที่ควรระวัง และแนวทางการรักษาด้วยจิตบำบัดที่สามารถช่วยบรรเทาภาวะนี้ได้ ข้อมูลสำคัญเพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม

โรคซึมเศร้า vs โรคแพนิค ความแตกต่างที่ต้องแยกให้ออก

โรคซึมเศร้า vs โรคแพนิค ความแตกต่างที่ต้องแยกให้ออก ความรู้สึกเศร้า หรือวิตกกังวล เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเผชิญในบางช่วงของชีวิต อย่างไรก็ตาม หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรบกวนชีวิตประจำวัน อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าหรือโรคแพนิค ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าโรคซึมเศร้า และโรคแพนิคคืออะไร โรคซึมเศร้าคืออะไร โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นภาวะที่มีผลต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของบุคคล ผู้ป่วยจะรู้สึกเศร้าหรือหมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบไป รวมถึงมีอาการอื่น ๆ เช่น ⦁ รู้สึกสิ้นหวัง หรือรู้สึกผิดในสิ่งที่ทำ รวมถึงสิ่งที่ไม่ได้ทำด้วย⦁ นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป⦁ เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดลง หรือบางรายอาจกินมากขึ้น⦁ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า⦁ มีความคิดเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง หรืออยากจบชีวิต ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้ามักเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแบบเรื้อรังอย่างชัดเจน โรคแพนิคคืออะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและอารมณ์ ทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกอย่างฉับพลัน (Panic Attack) แต่ไม่มีสาเหตุที่เจาะจงชัดเจน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการดังต่อไปนี้ ⦁ หัวใจเต้นเร็วและแรง รู้สึกเหมือนหัวใจจะวาย⦁ หายใจไม่อิ่ม หรือรู้สึกเหมือนขาดอากาศ⦁ เหงื่อออก ตัวสั่น หรือรู้สึกหนาวสลับร้อน⦁ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม⦁ รู้สึกว่าตัวเองกำลังจะตาย หรือควบคุมตัวเองไม่ได้ อาการแพนิคมักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน และอาจเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวล และกลัวว่าจะกระทบกับชีวิตประจำวันไปด้วย ความแตกต่างของโรคซึมเศร้า และโรคแพนิคคืออะไร แม้ว่าโรคซึมเศร้าและโรคแพนิคจะเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึก แต่ลักษณะของอาการและสาเหตุจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน โรคซึมเศร้า เป็นภาวะที่ค่อย ๆ พัฒนาและส่งผลกระทบระยะยาวต่ออารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วย คนที่มีภาวะซึมเศร้ามักรู้สึกหดหู่ เศร้า หรือหมดกำลังใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นนานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน อาการของโรคยังรวมถึงความรู้สึกไร้ค่า เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หรือแม้แต่การคิดอยากจบชีวิต และความรู้สึกเหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นภาวะที่ค่อย ๆ สะสม และมักส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม โรคแพนิค เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับอาการตื่นตระหนกและหวาดกลัวอย่างฉับพลัน โรคแพนิคจะเกิดอาการโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งสังเกตตัวเองได้จากการที่หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกเหมือนจะขาดอากาศหายใจ วิงเวียน หรือกลัวว่าตัวเองกำลังจะเสียชีวิต ในขณะที่กำลังเผชิญหน้าสถานการณ์บางอย่าง เช่น ที่มืด ที่แคบ ที่สูง ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างกะทันหันและรุนแรง แต่มักจะบรรเทาลงในไม่กี่นาทีหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย หรืออาจมีบางรายที่ใช้เวลาเป็นชั่วโมง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยมักจะเกิดความเครียดสะสมตามมา เพราะกลัวว่าจะมีอาการเกิดขึ้นอีกได้ ในบางกรณีทั้ง 2 โรคก็มีโอกาสอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ดังนั้นการเข้าใจความแตกต่างของโรคจะช่วยให้สามารถสังเกตอาการ และดูแลสุขภาพจิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น การสังเกตเบื้องต้นว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือโรคแพนิค หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือโรคแพนิค สามารถใช้วิธีสังเกตเบื้องต้นดังนี้ ⦁ หากรู้สึกเศร้า ท้อแท้ หมดกำลังใจ และอาการดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้า⦁ หากเกิดอาการตื่นตระหนกแบบไม่มีสาเหตุ ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อออก รู้สึกเหมือนจะเป็นลม และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อาจเป็นโรคแพนิค⦁ หากรู้สึกทั้ง 2 แบบ คือ มีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่องและมีอาการตื่นตระหนกเป็นช่วง ๆ ควรให้ความสนใจกับสุขภาพจิตของตนเองอย่างจริงจัง เพราะมีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นทั้ง 2 โรคร่วมกัน โรคซึมเศร้าและโรคแพนิคเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อยมากขึ้น ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีอาการของโรคเหล่านี้ ควรหมั่นสังเกตตัวเอง หาวิธีผ่อนคลาย และดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะการเข้าใจโรคได้ถูกต้อง จะช่วยให้เราดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ดียิ่งขึ้น HAPPY ME CLINIC เข้าใจดีว่าการใช้ชีวิตในปัจจุบันเต็มไปด้วยเรื่องยาก และมีหลายอย่างเข้ามาบั่นทอนจิตใจ หากมีอาการโรคซึมเศร้า หรือโรคแพนิคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตอย่างจริงจัง สามารถเข้ามาปรึกษาและรับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญของเรา ที่ใส่ใจทุกปัญหา ด้วยค่าบริการไม่แพง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

เครียดแค่ไหนก็เอาอยู่ 5 วิธีจัดการความเครียดด้วยตัวเองที่นักจิตวิทยาแนะนำ

วิธีจัดการความเครียดด้วยตัวเองที่นักจิตวิทยาแนะนำ พร้อมเคล็ดลับง่าย ๆ เช่น การหายใจอย่างมีสติ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการพูดคุยสร้างกำลังใจ เพื่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้น