โรคแพนิคไม่ได้เป็นเพียงความกังวลหรือความเครียดทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลันและรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งหลายคนอาจไม่ทันสังเกตว่าตนเองกำลังเผชิญกับภาวะนี้ เพราะคิดว่าเป็นเพียงความเครียดสะสม หรือปฏิกิริยาทางร่างกายชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และรบกวนชีวิตประจำวัน ต้องรีบมาเรียนรู้ว่า สัญญาณของโรคแพนิคคืออะไร เพื่อที่คุณจะสามารถรับมือและดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม
1. อาการตื่นตระหนกอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
คำแนะนำจากนักจิตวิทยา: ลองสังเกตตัวเองว่า อาการเกิดขึ้นในสถานการณ์ใด มีอะไรเป็นตัวกระตุ้น จากนั้นให้จดบันทึกอาการ ก็อาจจะช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุได้ดีขึ้น
2. ความรู้สึกเหมือนจะขาดอากาศหายใจ หรือหายใจไม่อิ่ม
คำแนะนำจากนักจิตวิทยา: ฝึกการหายใจช้า ๆ และลึก ๆ (Deep Breathing) โดยหายใจเข้าทางจมูก นับ 1-4 ค้างไว้ แล้วหายใจออกทางปาก นับ 1-6 วิธีนี้จะช่วยควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ และลดอาการตื่นตระหนกได้
3. ความกลัวตาย หรือกลัวสูญเสียการควบคุม
คำแนะนำจากนักจิตวิทยา: ใช้วิธีดึงสติกลับมาอยู่กับตัวเอง (Grounding Techniques) เช่น การสัมผัสสิ่งของรอบตัว พูดชื่อสีที่เห็นอยู่ หรือจดจ่อกับสิ่งที่สัมผัส วิธีเหล่านี้จะช่วยให้สมองกลับมาอยู่กับปัจจุบัน และลดความกลัวที่เกิดขึ้น
4. อาการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
คำแนะนำจากนักจิตวิทยา: ค่อย ๆ ท้าทายตัวเองด้วยการเผชิญกับสถานการณ์ที่เคยหลีกเลี่ยง พร้อมใช้เทคนิคการหายใจหรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการตื่นตระหนก
5. ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไวต่อความเครียดมากผิดปกติ
เมื่อได้เรียนรู้แล้วว่าโรคแพนิคคืออะไร หากอาการเกิดขึ้นให้ลองใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจกลับมาอยู่ในภาวะสมดุล
1. ใช้เทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8
หายใจเข้าทางจมูก 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที และหายใจออกทางปาก 8 วินาที วิธีนี้ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและลดอัตราการเต้นของหัวใจได้
2. ฝึกเทคนิคการดึงจิตกลับมาสู่ปัจจุบัน (Grounding Techniques)
ให้คุณเริ่มต้นด้วย
วิธีนี้จะช่วยให้สมองเบี่ยงเบนจากอาการแพนิค และดึงคุณให้กลับมาอยู่กับปัจจุบันได้
3. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ จะมีสารกระตุ้นระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการแพนิคได้ง่ายขึ้น การลดหรือเลิกเครื่องดื่มเหล่านี้ อาจช่วยลดความถี่ของอาการแพนิคได้
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียด และกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดโอกาสเกิดอาการแพนิคได้แบบระยะยาว
5. ปรึกษานักจิตวิทยา