2. อาการทางร่างกาย
3. อาการทางพฤติกรรม
⦁ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เครียด
⦁ ไม่กล้าตัดสินใจ หรือมีความลังเลมากกว่าปกติ
⦁ พยายามควบคุมทุกอย่างรอบตัว เพื่อให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัย
2. กระทบต่อความสัมพันธ์ คนที่วิตกกังวลมากเกินไปอาจหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม หรือบังคับคนใกล้ตัวให้ทำตามที่ตนเองต้องการ จึงทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอยู่เสมอ
หากคุณรู้สึกว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวล อาการที่เกิดขึ้นก็กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรรีบดูแลสุขภาพจิตตนเอง โดยเริ่มต้นจากแนวทางเหล่านี้ที่ช่วยลดอาการวิตกกังวลได้
1. ฝึกการหายใจและผ่อนคลาย
การหายใจลึก ๆ และช้า ๆ สามารถช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้ร่างกายผ่อนคลายได้ ให้ลองใช้เทคนิคการหายใจ 4-7-8 โดยหมายถึง “หายใจเข้า-กลั้นหายใจ-หายใจออก” เป็นวินาทีต่อเนื่องกัน จะช่วยลดความวิตกกังวลในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียดลงได้
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นเหมือนยาวิเศษ ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินจริงเลย เป็นวิธีที่ดีในการลดความเครียดและช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างการเดินเร็ว วิ่ง หรือโยคะ
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนน้อยเกินไปสามารถทำให้โรควิตกกังวล อาการรุนแรงขึ้นได้ ทั้งอารมณ์แปรปรวน และกังวลมากขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้นควรจัดตารางเวลานอนอย่างมีวินัย และงดใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน
4. ฝึกสติและสมาธิ
การทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจอยู่กับปัจจุบันและลดความคิดฟุ้งซ่าน ลองเริ่มต้นจากการฝึกนั่งสมาธิวันละ 5-10 นาที และค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาไปเรื่อย ๆ
5. ทำกิจกรรมที่รู้สึกดี
การใช้เวลากับสิ่งที่ชอบจะสามารถช่วยลดความวิตกกังวล และทำให้รู้สึกดีขึ้น จิตใจจึงผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้น
6. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลได้ในผู้ป่วยบางคน ลองลดปริมาณลงแล้วเลือกดื่มชาที่มีคาเฟอีนน้อยกว่าแทน
7. พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้
การแบ่งปันความรู้สึกกับเพื่อนสนิทหรือครอบครัว สามารถช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ เพราะบางครั้งแค่ได้ระบาย และได้รับกำลังใจจากคนใกล้ตัว ก็ช่วยลดความกังวลได้มาก
8. ปรึกษานักจิตวิทยา นักจิตบำบัด เพื่อหาแนวทางและดูแลจัดการอาการวิตกกังวล
หากโรควิตกกังวล อาการรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน การปรึกษานักจิตบำบัดสามารถช่วยให้เข้าใจต้นตอของปัญหา และเลือกวิธีจัดการกับความวิตกกังวลได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ทำให้สามารถควบคุมและบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ