วันนี้เราอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจว่า โรคแพนิคคืออะไร? ด้วยข้อมูลอย่างละเอียดจากนักจิตวิทยาและนักจิตบำบัด เพื่อให้ทุกคนสามารถรับมือได้อย่างถูกต้อง ซึ่งโรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความตื่นตระหนกอย่างฉับพลัน ซึ่งเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีภัยคุกคามอย่างชัดเจนก็ตาม สาเหตุหลักนั้นจะมาจากสมองส่วนอะมิกดาลา (Amygdala) ที่ทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลมากเกินไป จึงทำให้เกิดอาการใจสั่น หายใจไม่ทัน หรือวิงเวียนศีรษะ โดยเฉพาะกับผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์รุนแรง หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า มักจะมีความเสี่ยงการเกิดโรคแพนิคสูงขึ้น
อาการทางกาย ผู้ป่วยมักรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นแรงเกินปกติ มือสั่น หน้ามืด หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม แม้ว่าการตรวจร่างกายจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก็ตาม
อาการทางอารมณ์ มีความกลัวแบบควบคุมไม่ได้ อาจรู้สึกเหมือนหลุดออกจากความเป็นจริง (Derealization) หรือรู้สึกเหมือนตนเองกำลังจะแยกออกจากร่างกาย (Depersonalization) ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและตื่นตระหนกเพิ่มขึ้น
ผลกระทบระยะยาว ผู้ที่เกิดอาการแพนิคบ่อยครั้ง มักจะเลือกหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เคยกระตุ้นอาการ เช่น การโดยสารรถสาธารณะ หรือการอยู่ในที่สาธารณะ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเก็บตัวและเกิดปัญหาการเข้าสังคมได้
ความเชื่อมโยงระหว่างโรคซึมเศร้า และโรคแพนิคคืออะไร
อาการแพนิคที่เกิดซ้ำ ๆ อาจนำไปสู่โรควิตกกังวลเรื้อรัง และเมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกหมดหนทางในการควบคุมชีวิต อาจเกิดความรู้สึกสิ้นหวังและเข้าสู่ภาวะซึมเศร้า การบำบัดโดยนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด จึงมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจวงจรความกลัว และหาแนวทางรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
⦁ การฝึกหายใจลึก ๆ (Deep Breathing) ควรฝึกหายใจช้า ๆ และลึก ๆ เพื่อลดการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ จะช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจสงบลงเร็วขึ้น
⦁ เทคนิคการรับรู้ปัจจุบัน (Grounding Techniques) ฝึกใช้หลัก “5-4-3-2-1” โดยเริ่มจากสังเกตสิ่งที่มองเห็น-เสียงที่ได้ยิน-สัมผัสที่รู้สึก-ดมกลิ่น-ชิมรสชาติ โดยตัวเลขจะหมายถึงจำนวนที่แตกต่างกันและต้องแยกให้ออก วิธีนี้จะช่วยดึงจิตใจกลับมาสู่ปัจจุบันได้
⦁ การบำบัดพฤติกรรมและความคิด (CBT) ฝึกระบุและทบทวนความคิดเชิงลบที่กระตุ้นอาการแพนิค พร้อมปรับความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล ให้กลับมาเข้าใจได้ถูกต้อง
⦁ การบำบัดแบบเผชิญหน้า (Exposure Therapy) ค่อย ๆ ฝึกให้ตนเองกล้าเผชิญกับสถานการณ์ที่กลัวในสภาวะแวดล้อมที่ควบคุมได้และปลอดภัย เพื่อสร้างความคุ้นชินและลดความกลัว วิธีนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง แนะนำว่าควรทำภายใต้การดูแลของนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด
⦁ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Progressive Muscle Relaxation) ฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อทีละส่วนเพื่อช่วยลดความเครียดทางร่างกาย
⦁ ปรึกษานักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด เพื่อช่วยวางแผนการรักษาให้เหมาะสมและปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
จากข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า โรคแพนิคสามารถรับมือได้ ไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวหรือหลบซ่อนตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงอาการ หากผู้ป่วยมีความเข้าใจและปฏิบัติตามวิธีรับมือที่เราได้แนะนำไปแล้ว ก็จะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างแน่นอน หรือหากมีอาการรุนแรงเกินกว่าจะแก้ไขเองได้ การเปิดใจรับคำแนะนำจากนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด จะยิ่งช่วยให้คุณรู้ว่าโรคแพนิคคืออะไร และสามารถวางแนวทางการฟื้นฟูสุขภาพใจได้อย่างเหมาะสม และที่ Happy Me Clinic เราพร้อมเป็นคนที่จะช่วยคุณแก้ไขอาการแพนิคนี้เอง